• สืบสานตำนานพันปีปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
    เมื่อเอ่ยชื่อจังหวัดสุรินทร์ คนทั่วไปจะรู้จักมักคุ้นว่า สุรินทร์คือเมืองช้าง ด้วยเหตุนี้ จังหวัดสุรินทร์ จึงกำหนดให้งานช้างเป็นงานประจำปี โดยจะจัดขึ้นราวกลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปี นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศส่วนใหญ่จะรู้แค่ว่า สุรินทร์คือถิ่นช้างใหญ่ มีงานแสดงของช้างเท่านั้นแต่แท้จริงแล้วจังหวัดสุรินทร์ยังมีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวอย่างพร้อมมูลมีปัจจัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพและคุณค่า ซึ่งมิใช่เพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจอย่างเดียว แต่เพื่อการศึกษาหาความรู้ อันแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองอลังการของอดีตกาล เป็นดินแดนที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่ ตั้งอยู่บนเส้นทางแห่งศูนย์อำนาจการเมืองการปกครองยุคเทวราช สมัยขอมเจริญรุ่งเรือง โดยมีวัตถุโบราณเรียงรายอยู่ทั่วไป ศิลปกรรมที่เก่าแก่และสำคัญควรแก่การอนุรักษ์และเหมาะแก่การท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ คือ ปราสาทศีขรภูมิ
    ปราสาทศีขรภูมิหรือปราสาทบ้านระแงง ตั้งอยู่บ้านปราสาท ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกประมาณ 34 กิโลเมตร ตามเส้นทางสุรินทร์-ศรีสะเกษ ถึงบ้านปราสาท (เขตเทศบาลตำบลระแวง) จะมีเส้นทางเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 500 เมตร องค์รวมจะประกอบด้วยปราสาทอิฐ 5 หลัง บนฐานเดียวกัน มีปราสาทประธานตั้งอยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยปราสาทบริวารที่มุมทั้ง 4 ทิศ ฐานที่ตั้งเป็นศิลาแลง ขนาดกล่าว 25 เมตร ยาว 26 เมตร สูง 1.5 เมตร มีคูน้ำขนาด 111 X 125 เมตร ล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน และเว้นทางเข้าอยู่ทางทิศตะวันออก
    รูปแบบศิลปะแบบขอม แบบบาปานและนครวัด แผ่นศิลาทัพหลังเหนือกรอบประตูปราสาทหลังประธาน สลักเป็นภาพพระศิวะนาฎราชสิบกร ทรงฟ้อนรำอยู่เหนือเกียรติมุขภายใต้วงโค้งของลาย ท่อนพวงมาลัยสลักเป็นภาพพระคเณต พระพรหมสี่พักตร์ พระนารายณ์สี่กรและพระนางอุมา บริเวณเชิงเสาประดับผนังที่กรอบประตูด้านหน้าสลักเป็นรูปนางอัปสรยืนถือดอกบัว และรูทวารบาลยืนกุมกระบอง
    จากรูปลักษณะลวดลายสลักปรากฏอยู่บนแผ่นศิลาทับหลังและเสาประดับผนัง ปราสาทศีขรภูมิ คงสร้างขึ้นในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 17 เนื่องในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย (บูชาพระศิวะเป็นใหญ่) ต่อมาสมัยอยุธยาตอนปลาย (พุทศตวรรษที่ 22 สมัยศิลปะล้านช้าง) มีการบูรณะส่วนยอดของปราสาทหลังทิศตะวันตกเฉียงใต้และบูรณะปฏิสังขรณ์ดัดแปลงให้เป็นพุทธสถานจนถึงปัจจุบัน
    ในปี พ.ศ. 2544 อำเภอศีขรภูมิและเทศบาลตำบลระแงง กำหนดการจัดงานสืบสานตำนานพันปีปราสาทศีขรภูมิ ในวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2544 ในงานมีการแสดงนิทรรศการประเพณีวัฒนธรรมของชาวอำเภอศีขรภูมิ สัมผัสกับการจำลองวิถีชีวิตของกลุ่มชาวพื้นเมืองเขมร กูย ลาว ร่วมรับประทานอาหารเย็นพร้อมชมการแสดงประกองแสง สี เสียง ในชุดต่าง ๆ พร้อมทั้งการแสดงของนักเรียน นักศึกษา จากโรงเรียนในเขตอำเภอและเลือกซื้อสินค้าของฝาก ของที่ระลึกของชาวพื้นเมืองไม่ว่าจะเป็นกาละแม ขนม ผ้าไหม และอื่น ๆ อีกมากมาย หลายชนิด

****************

การอนุรักษ์ควายเผือก ที่อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์
ปัจจุบันจำนวนของควาย หรือกระบือทั่วประเทศมีอยู่ ประมาณ 1 ล้าน 2 แสนกว่าตัว เมื่อปี 2520 มีอยู่ 6 ล้านตัว ระยะเวลาเพียง 24 ปี ควายหายไปไหน 4 ล้าน 8 แสนตัว จังหวัดสุรินทร์ประชากรควายมีอยู่ 127,580 ตัว เป็นเจ้าภาพงานวันกระบือก็หลายครั้ง นอกจากนี้ยังมีหมู่บ้านอนุรักษ์และพัฒนากระบือไทย เช่น ที่บ้านปันโร อำเภอปราสาท บ้านโคกเพชร อำเภอเมืองสุรินทร์ และที่บ้านกระออม อำเภอสำโรงทาบ และ อำเภอสำโรงทาบนี้เองก็ได้มีเกษตรกรหัวก้าวหน้าหันมาเลี้ยงควายเผือก เพื่อการอนุรักษ์ และใช้แรงงานด้วย
การเลี้ยงควายในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงเพื่อใช้ทำงานในไร่นา เมื่อควายอายุมากก็จะถูกส่งโรงฆ่าสัตว์ เพื่อแปรรูปเป็นเนื้อสัตว์ ประกอบกับปัจจุบันนี้มีการใช้รถไถนาขนาดเล็กในการทำนามากขึ้น ทำให้ความจำเป็นในการเลี้ยงควายไว้ใช้งานมีน้อยลง
และอาจจะเป็นภาวะในการเลี้ยงดู เกษตรกรจึงขายออกจำนวนมาก ควายในประเทศไทยจึงลดน้อยถอยลงไปด้วยอย่างไรก็ตามเราก็สามารถ พบเห็นควาย หรือกระบือได้โดยทั่วไป บางตัวก็ผอม บางตัวก็อ้วน มีสีดำมันขลับ ตามสภาพท้องถิ่น แต่บางครั้งก็ต้องสะดุดตา เมื่อเราเจอควายที่มีสี่ขาวทั้งตัวแต่ไม่ได้เปื้อนโคลนนะครับ ก็คือควายเผือกหรือกระบือเผือกนั่นเอง

ที่บ้านโนนลี หมู่ที่ 11 ตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ ก็มีเกษตรกรรวมกลุ่มกันเลี้ยงควายเผือก นำโดยนายจันไท ภางาม อายุ 48 ปี และพรรคพวกอีก 3 คน ด้วยการที่ตนเองมีใจชอบอีกทั้งยังมีความสวยงาม การใช้แรงงานอะไรต่าง ๆ ก็ดีเหมือนกับกระบืออื่น ๆ ทั่วไป
ผู้ใหญ่บ้านเองก็ได้มีการสนับสนุนกลุ่มดังกล่าวด้วย เช่นกัน เพราะถือว่าเป็นเรื่องแปลกใหม่ และสามารถรวบรวมกระบือเผือกได้เป็นสิบ ๆ ตัว เพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้คนทั่วไปได้ศึกษา ได้ดูกันที่หมู่บ้าน.
ทีนี้ลองมาฟังทางเจ้าหน้าที่ทางการเข้าให้การสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรนี้อย่างไร โดยเฉพาะทางเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์....
พูดถึงประโยชน์การเลี้ยงควายนั้นมีอยู่มากมาย เช่น ได้แรงงานจากการไถนาและลากเกวียน ขายก็ได้ราคา ตัวหนึ่งก็ตกราคาตัวละ 1 หมื่นสองพันบาทถึงสองหมื่นบาท เป็นทรัพย์สินของครอบครัว ที่สำคัญก็คือได้มูลเป็นปุ๋ย เพราะควายขนาดใหญ่ให้มูลเป็นปุ๋ยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงนำไปใช้ในไร่นาปีละถึง 2-3 ตัน / ตัว ปัจจุบันมูลของวัน-ควาย ที่เป็นปุ๋ยคอกแท้จะขายได้ราคาค่อนข้างสูง อยู่ที่ประมาณ กิโลกรัมละ 2 บาท ซึ่งก็ทำให้เกษตรกรมีรายได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งก็ถือว่าเป็นโรงงานผลิตปุ๋ยที่ลงทุนถูกที่สุดในโลก
สัตว์เลี้ยงที่ให้คุณประโยชน์ต่อมนุษย์ก็เห็นจะเป็นโค-กระบือ นี้แหละครับ โดยเฉพาะกระบือเผือกแม้อาจจะเป็นเพียงปมด้อย แต่กระบือเผือกนั้นสามารถให้คุณประโยชน์มากมาย ใช้แรงงานทางเกษตรกรรมมูลก็เป็นปุ๋ยอย่างดียิ่ง ขณะนี้จังหวัดสุรินทร์ ก็ได้ประกาศนโยบาย สุรินทร์เมืองเกษตรอินทรีย์ ปลอดสารเคมีและสารพิษ แล้วด้วย.

ทีมข่าว ส.ปชส.สุรินทร์ รายงาน

......................................................................................................

หมู่บ้านจักสานหวาย บ้านบุทม จ.สุรินทร์ สานชีวิตสร้างเศรษฐกิจให้ชุมชน

ที่จังหวัดสุรินทร์ มีหมู่บ้านหนึ่งชื่อ บ้านบุทม หมู่ที่ 4 ต.เมืองที อ.เมือง สุรินทร์ จ.สุรินทร์ ที่ชาวบ้านได้รวมกลุ่มหัตถกรรมหวาย สร้างรายได้ให้สมาชิกตลอดทั้งปี เป็นหัตถกรรมชาวนา ที่สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น การศึกษา และพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชนด้วยตนเอง


จะทำงานอย่างไรให้มีความสุข ในยุคโลกาภิวัตน์


ภายใต้การดิ้นรนเพื่อการดำรงชีพของคนเราทุกวันนี้บาง บางครั้งทำให้เราเกิดการเบื่อหน่าย ไม่อยากทำงาน และถ้าเมื่อใดอาการดังกล่าวเกิดขึ้นกับเรา..........จะต้องรีบกำจัดออกไป และคิดต่อไปว่าจะเป็นอย่างไรให้ทำงานได้อย่างมีความสุขและสนุก ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น 1.ในระหว่างงานหลายประเภทที่รับผิดชอบอยู่นั้น ขอให้เลือกทำงานในประเภทที่ใจชอบมากที่สุดก่อน และเก็บเอางานที่ชอบน้อยไว้ทำทีหลัง 2. พยายามทำจิตใจในช่วงก่อนที่จะเดินทางมาทำงานในตอนเช้า ให้เกิดความกระปรี่กระเปร่า เพราะการทำจิตใจให้ผ่องใสหรือมีจิตใจให้ผ่องใสหรือมีจิตใจที่แช่มชื่น ย่อมมีส่วนสร้างกำลังใจและความมั่นใจได้ 3. พยายามสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน จากที่ไม่เคยทักทายคนรอบข้างก่อนก็อาจจะเปลี่ยนมาทักทายพวกเขาก่อนด้วยคำง่ายๆ เช่น สวัสดี 4. ถ้าคุณรู้ตัวว่าวัน ๆ หนึ่ง เอาแต่ก้มหน้าก้มตาในหน้าที่ ทางที่ดีควร พยายามปลีกเวลาเข้าร่วมกิจกรรมของหน่วยงานบ้าง 5. พยายามหาโอกาสที่จะเรียนรู้ใหม่ ๆ ซึ่งอาจจะเหมาะกับความสนใจในขณะนั้นก็ได้ 6. อาจจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการเสนอแนวทางการทำงานใหม่ 7. ถ้ายังไม่มีแฟน ลองมองหาใครสักคนมาเป็นแฟนที่ทำงาน เพราะจะยิ่งทำให้รู้สึกว่าที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงานมากขึ้น ดังนั้น ถ้าคุณรู้สึกเบื่อในการทำงาน ลองทำตามวิธีการดังกล่าวข้างต้นดู เพราะอาจจะทำให้รู้สึกดีขึ้นบ้าง แต้ถ้ายังไม่ได้ผลก็คงต้องไปพบจิตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำปรึกษาขั้นต้นต่อไป สังคมสดใส เพราะร่วมใจ ห่างไกลยาเสพติด / /////////////////////

พายุหมุนฤดูร้อนพัดกระหน่ำบ้านเรือนราษฎรเสียหายกว่า 70 หลังคาเรือนที่ จ.สุรินทร์ เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2544 เวลา 15.30 น. ที่ ต.ตระเปียงเตีย อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์ ได้เกิดพายุหมุนฤดูร้อนโหมพัดกระหน่ำบ้านเรือนราษฎรอย่างหนักเป็นเวลากว่า 2 ชั่วโมงทำให้บ้านเรือนตลอดจนฉางข้าว เสาไฟฟ้าและต้นไม้ขนาดใหญ่ถูกกระแสลมพัดอย่างแรงจนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก โดยที่บ้านตาปุ่ม บ้านไทยเจริญ บ้านหนองคู บ้านหนองหาญ และบ้านโคกกระโดน ต.ตระเปียงเตีย อ.ลำดวน จ.สุรินทร์ ถูกพายุพัดกระหน่ำโดยเฉพาะที่บ้านตาปุ่ม หมู่ 5 ได้รับความเสียหายอย่างหนักบ้านเรือนราษฎรจำนวนกว่า 40 หลังคาเรือนเสียหายอย่างหนัก หลังคาสังกะสีปลิวว่อนไกลกว่าครึ่งกิโลเมตร บางหลังหลังคาบ้านหายไปทั้งหมด เสาไฟฟ้าหักโค่นจนไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนไร้ที่อยู่อาศัย ส่วนที่บ้านไทยเจริญ ม.9 ต.ตระเปียงเตีย ต้นไม้ขนาดใหญ่ถูกกระแสลมพายุหมุนพัดหักโค่นลงมาเป็นจำนวนมาก ทั้ง 5 หมู่บ้านขอิงตำบลตระเปียงเตีย อำเภอลำดวนได้รับความเสียหายจากพายุรวม 70 กว่าหลังคาเรือน ซึ่งขณะนี้นายเกษมศักดิ์ แสนโภชน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ได้มีคำสั่งให้ป้องกันจังหวัดและประชาสงเคราะห์จังหวัด ออกสำรวจพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายเบื้องต้น เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วนแล้ว กีฬาฟุตบอล 7 คนต้านยาเสพติด เสมาคัพ สุรินทร์ 16.00 น. วันที่ 19 เมษายน มีพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาฟุตบอล 7 คน เสมาคัพ 2544 กีฬาต้านยาเสพติด ที่ลานกีฬาต้านยาเสพติด หน้าศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ โดยมีนายสุรินทร์ พันธุ์ฤกษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานเปิดการแข่งขัน การจัดการแข่งขันกีฬาฟุตบอลประเภท 7 คน เสมาคัพ 2544 ต้านยาเสพย์ติด ครั้งนี้ ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพย์ติดจังหวัดสุรินทร์ได้สนับสนุนให้สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุรินทร์ เป็นหน่วยดำเนินการจัดการแข่งขัน เพื่อเป็นกิจกรรมให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษาได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในภาคฤดูร้อน ได้มีโอกาสออกกำลังกาย ใช้การกีฬาเป็นสื่อสร้างสรรค์ความรักสามัคคี และหลีกหนีให้ห่างไกลจากยาเสพติด การจัดการแข่งขันแบ่งออกเป็นประเภทเยาวชน 15 ปี 18 ปี ประชาชนทั่วไป และหน่วยงานราชการ มีทีมสมัครเข้าแข่งขัน 43 ทีม จัดการแข่งขันแบบพบกันหมดในสาย เริ่มทำการแข่งขันมาตั้งแต่วันที่ 17 เมษายนไปจนถึงวันชิงชนะเลิศในวันที่ 15 พฤษภาคม นี้ เอราวัณคัพ กีฬาตำบลต้านยาเสพติด งวดลงมาแล้ว กีฬาตำบลต้านยาเสพติด เอราวัณคัพ 387 ทีม ที่พบกันในระดับตำบล มาเป็นระดับอำเภอ ใช้เวลาทำการแข่งขันแบบทีมเหย้าทีมเยือน เรื่อยมา จนกระทั่งเหลือ 32 ทีมสุดท้ายเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ มาแข้งขันกันที่จังหวัด ที่สนามช้างจังหวัดสุรินทร์ ถึงกำหนดชิงชนะเลิศสุดท้ายกันแล้วในวันที่ 4 พฤษภาคม นี้ โดยมีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน นายไพฑูรย์ ศิริบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์พลศึกษาและกีฬาจังหวัดสุรินทร์ แจ้งมาครับ 1 พฤษภาคม นี้ เริ่มเข้มงวดกวดขันการทำประกันภัย ตาม พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ได้กำหนดให้เจ้าของรถทุกคันทำประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย แต่ยังมีรถที่ฝ่าฝืนจำนวนมาก 1 พฤษภาคม นี้ จะทำการตรวจจับรถที่ฝ่าฝืนไม่จัดทำประกันภัย ทั่วประเทศ ถ้าไม่ทำประกันภัย มีความผิดตามกฎหมาย 1. เจ้าของรถ ผู้ใช้รถที่ไม่ทำประกันภัย ถูกปรับไม่เกิน 10,000.- บาท 2. เจ้าของรถต้องรับผิดชอบจ่ายค่าเสียหาย ถ้ารถของตัวทำให้ประสบภัย ถ้าไม่ยอมชดใช้ค่าเสียหาย ถูกปรับ 10,000 - 50,000.- บาท สอบถามได้ที่ 516019,530670 สำนักงานประกันภัยสุรินทร์


โครงการจังหวัดสุรินทร์สัญจร จังหวัดสุรินทร์ จัดโครงการจังหวัดสุรินทร์สัญจร เพื่อนำบริการของส่วนราชการและเครื่องอุบโภคบริโภคไปมอบให้ราษฎรในชนบทที่ขาดแคลนที่ออำเภอสังขะ วันนี้ ( 18 เมษายน 2544 ) เวลา 10.30 น. นาย เกษมศักดิ์ แสนโภชน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ นำหน่วยราชการ ///////////////// ปี 2544 สุรินทร์จัดงานแสดงช้างวันที่ 17-18 พ.ย. 44///////////////////


เอราวัณคัพ กีฬาตำบลต้านยาเสพติดที่สุรินทร์ ถึงรอบชิงชนะเลิศแล้ว ปิดสนามวันนี้ นายไพทูรย์ ศิริบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์พลศึกษาและกีฬาจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า จังหวัดสุรินทร์ ได้จัดการแข่งขันฟุตบอลเยาวชน ประชาชน ต้านยาเสพติด "เอราวัณคัพ" ครั้งที่ 2 ประจำปี 2544 มาตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม จนถึงวันที่ 4 พฤษภาคม 2544 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เยาวชน ประชาชน ได้เล่นกีฬาเพื่อการออกกำลังกาย ห่างไกลจากสิ่งเสพย์ติด รวมทั้งเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของการจัดการแข่งขันฟุตบอลของจังหวัดให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้น เข้าถึงรอบชิงชนะเลิศแล้วในวันที่ 4 พฤษภาคมนี้ การจัดการแข่งขันฟุตบอลเอราวัณคัพ ครั้งที่ 2 นี้ มีทีมจาก อบต. เทศบาล และหน่วยงานราชการต่าง ๆ ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งประเภททีมชายและทีมหญิง ทั้งสิ้น 207 ทีม โดยแยกเป็นทีมชาย 175 ทีม และทีมหญิง 32 ทีม โดยแข่งขันในรอบคัดเลือกตัวแทนอำเภอแข่งขันแบบแพ้คัดออก พบกัน 2 ครั้ง (เหย้า-เยือน) แข่งขัน ณ สนามกีฬาตำบลต่างที่เป็นเจ้าภาพ คัดตัวแทนจำนวน 32 ทีม เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ระหว่างวันที่ 20 มีนาคม - 4 พฤษภาคม 2544 ณ สนามกีฬาจังหวัดสุรินทร์ (สนามแสดงช้าง) ในรอบ 32 ทีม แข่งขันแบบพบกันหมดในสาย หาทีมเข้ารอบสายละ 2 ทีม และในรอบ 16 ทีม ถึงรอบชิงชนะเลิศ แข่งขันแบบแพ้คัดออกพบกันครั้งเดียว สำหรับการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ วันที่ 4 พฤษภาคม นี้ เวลา 13.30 น. ทีมหญิงชิงชนะเลิศ ระหว่างทีมตำบลศรีสุข กิ่งอำเภอศรีณรงค์ กับทีม ตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ 15.00 น. ทีมชายชิงชนะเลิศ ระหว่างทีมตำบลแกใหญ่ กับทีมตำบลเทนมีย์ โดยได้รับเกียรติจาก นายทวีศักดิ์ สุขสวัสดิ์ รองอธิบดีกรมพลศึกษา มาเป็นประธานปิดการแข่งขัน --------------------- ศักดา เชื้ออินทร์- รายงาน 4 พฤษภาคม 2544
จังหวัดสุรินทร์ อบรมสมาชิกนิคมสร้างตนเอง ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ นิคมสร้างตนเองปราสาท จังหวัดสุรินทร์ จัดอบรมสมาชิก เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะชุมชน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ โดยมีนายสุรินทร์ พันธุ์ฤกษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธาน นิคมสร้างตนเองปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อปี 2501 และประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตนิคมเมื่อปี 2512 โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อจัดสรรที่ดินให้ราษฎรที่ยากจนได้มีที่ตั้งเคหสถาน และเอกสารสิทธิเพื่อประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่ง ซึ่งนิคมฯ แห่งนี้มีเนื้อที่ทั้งหมด 253,117 ไร่ ครอบคลุม 2 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอปราสาท อำเภอกาบเชิง และกิ่งอำเภอพนมดงรัก มีสมาชิกทั้งหมด 12,216 ครอบครัว นายวิฑูรย์ สังวรศีล ผู้ปกครองนิคมปราสาท กล่าวว่า การอบรมครั้งนี้เป็นการอบรมสามาชิก ตามโครงการเสริมสร้างสมรรถนะชุมชน โดยเฉพาะการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ เป็นเรื่องที่กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากโรคเอดส์ได้แพร่เข้าสู่ชุมชนทุกกลุ่ม ซึ่งผู้เข้าอบรมจะได้รับความรู้ความเข้าใจหากได้รับผลกระทบจากปัญหาเอดส์ และปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข และในการนี้มีการมอบเครื่องอุปโภคบริโภคให้กับสมาชิกนิคมฯ ผู้ด้อยโอกาสและมอบเอกสารสิทธิ์ในการทำประโยชน์ที่ดิน นิคมสร้างตนเองด้วย **************** ประวัติ สำราญจริง ข่าว ทองปัก ทวีสุข ภาพ ชาญศักดิ์ เริ่มรักษ์ บก.ข่าว 2 พฤษภาคม 2544
สามัญศึกษา-สปจ.สุรินทร์ เรียกบรรจุครู นายสมนึก ศูนย์กลาง ผู้อำนวยการสามัญศึกษา จ.สุรินทร์ (สศจ.สุรินทร์) เผยว่า การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้าเป็นข้าราชการครู จ.สุรินทร์ สังกัดกรมสามัญ ครั้งที่ 1/2544 เรียกบรรจุครูได้ 76 อัตรา จาก 10 วิชาเอก ตามที่ได้ประกาศรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ไปแล้วให้มารายงานตัวเพื่อรับบรรจุแต่งตั้งและเลือกโรงเรียนในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ เวลา 09.00 น. และปฐมนิเทศวันที่ 15 พฤษภาคม เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุม สศจ.สุรินทร์ ถนนคชสาร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ พร้อมนำเอกสารและหลักฐานที่จะต้องนำมาแสดงตัวด้วย ผู้สอบได้รายใดไม่มารายงานตัวถือว่าสละสิทธิ์ นายมานะ สินธุวงษานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการการประถมศึกษา จ.สุรินทร์ เผยว่า ให้ผู้ที่สอบบรรจุได้ของ สปจ.สุรินทร์ วิชาเอกภาษาอังกฤษ 3 คน คือ นางอุไรวรรณ จงเจริญ น.ส.เกศินี สิงไธสงค์ และ น.ส. จิรกาญจน์ แพงวงษ์ ให้มารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ที่ สปจ.สุรินทร์ บริเวณโรงเรียนหนองโตง อ.เมืองสุรินทร์ ในวันที่ 15 พฤษภาคมนี้ เวลา 09.00 น. //////////////////////// สุรินทร์ เลือกตั้ง อบต. 99 แห่ง นายเกษมศักดิ์ แสนโภชน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า วันที่ 10 พฤษภาคมนี้ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จ.สุรินทร์ จำนวน 99 แห่ง ครบวาระต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน และกระทรวงมหาดไทย ก็ได้กำหนดให้มีการเลือกตั้ง อบต. พร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 23 มิถุนายนนี้ ในส่วนของจังหวัดสุรินทร์ จะเปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 14-20 พฤษภาคมนี้ โดยสมัครได้ที่ที่ทำการ อบต. ที่จะลงสมัคร พร้อมหลักฐานการสมัคร ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ อบต. แต่ละแห่ง ที่เปิดรับสมัคร. ///////////////////// ทีมข่าว ส.ปชส.สุรินทร์ รายงาน
จังหวัดสุรินทร์จัดโครงการพัฒนาปลูกพืชสมุนไพรรักษาช้าง จังหวัดสุรินทร์ จัดประชุมการจัดโครงการพัฒนาปลูกสมุนไพรรักษาช้าง ปลูกพืชอาหารช้าง และปลูกป่าอาหารช้าง จังหวัดสุรินทร์ เพื่อช่วยเหลือช้างและผู้เลี้ยงช้าง ไม่ต้องพาช้างไปเร่ร่อนหากินต่างถิ่น วันที่ 3 พ.ค. 44 เวลา 10.00 น. นายสุรินทร์ พันธุ์ฤกษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ จัดการประชุมโครงการพัฒนาปลูกพืชสมุนไพรรักษาช้าง ปลูกพืชอาหารช้างและปลูกป่าอาหารช้าง จังหวัดสุรินทร์ ณ ห้องประชุมที่ศาลากลาง จ. สุรินทร์ ซึ่งทางจังหวัดได้เล็งเห็นปัญหาของช้างและผู้เลี้ยงช้าง เนื่องจากช้างจังหวัดสุรินทร์ต้องไปเร่ร่อนหากินต่างจังหวัด ก่อให้เกิดปัญหาช้างถูกทำร้าย รถชน และล้มป่วยเสียชีวิต ดังนั้นเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและส่งเสริมให้ประชาชนมีรายได้ในการปลูกพืชสมุนไพรรักษาช้าง ปลูกพืชอาหารช้างและปลูกป่าอาหารช้าง จึงจัดทำแนวเขตบริเวณโดยรอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูดิน ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 6,350 ไร่ ให้ชัดเจนและสร้างแหล่งน้ำตลอดจนสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นกับการดำรงชีวิตของช้าง เพราะหมู่บ้านช้างถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศในนามของ " สุรินทร์เมืองช้าง" หรือตามคำขวัญของจังหวัดที่ว่า "สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม" โดยที่จังหวัดสุรินทร์มีชาวพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งเรียกกันว่า ชาวกุย หรือ ชาวส่วย ซึ่งมีความชำนาญในการเลี้ยงช้างมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษของพวกตราบจนกระทั้งถึงทุกวันนี้ ทองปัก ทวีสุข ข่าว ชาญศักดิ์ เริ่มรักษ์ บก.ข่าว
ผู้ว่าฯ สุรินทร์ บรรยายเกษตรอินทรีย์แด่คณะสงฆ์วิปัสสนาจารย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ถวายความรู้แด่ พระวิปัสสนาจารย์ แห่งประเทศไทย เรื่อง เกษตรอินทรีย์แด่คณะสงฆ์วิปัสสนาจารย์ ตลอดจนอุบาสกอุบาสิกา เพื่อขยายผลให้แก่พุทธศาสนิกชนต่อไป วันที่ 14 พฤษภาคม 2544 ที่ศาลาเกตุสิริ วัดศาลาลอย อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ นายเกษมศักดิ์ แสนโภชน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ร่วมบรรยายเรื่องเกษตรอินทรีย์ต่อคณะสงฆ์วิปัสสนาจารย์ ของกองวิปัสสนาธุระแห่งประเทศไทย ซึ่งได้จัดประชุมบำเพ็ญสมณธรรมร่วมกันระหว่างคณะสงฆ์วิปัสสนาจารย์ พระภิกษุสามเณร แม่ชี อุบาสกอุบาสิกา จาก 5 จังหวัด คือจังหวัดอุบลราชธานี ศีรสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 12-18 พฤษภาคม 2544 โดยมีพระครูพิศาลธรรมโสภณ เลขาธิการกองการวิปัสสนาธุระแห่งประเทศไทย เป็นประธาน โครงการดังกล่าวเป็นการนำธรรมไปหาคนเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนหมู่มากและให้พระวิปัสสนาจารย์เข้าถึงประชาชนอย่างใกล้ชิด ซึ่งปฏิบัติกันมาเป็นปีที่ 43 แล้ว โดยอาศัยโครงการกำหนดการ ระเบียบการ และร่วมกันทำงานด้วยความอุตส่าห์ วิริยะ ตามพุทธจิรยาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงบำเพ็ญมาในครั้งพุทธกาล เป็นการส่งเสริมให้พระพุทธศาสนาให้สมบูรณ์ครบถ้วน คือ พระปริยัติศาสนา พระปฏิบัติศาสนา พระปฏิเวธศาสนา ให้ดำรงคงสืบอยู่ไป และในการนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ได้ร่วมบรรยายแนะนำจังหวัดตลอดจนถึงนโยบายของจังหวัดที่ได้ประกาศเป็นเมืองเกษตรอินทรีย์ปลอดสารเคมีและสารพิษด้วย ประวัติ สำราญจริง ข่าว ข่าวเสียง 15 พฤษภาคม 2544 " วันเกษตรกร " การแก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัดสุรินทร์นั้น จังหวัดได้เน้นให้เกษตรกรซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของจังหวัดหันมาทำการเกษตรอินทรีย์ ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดต้นทุนการผลิตแล้วยังเป็นผลดีต่อสุขภาพประชาชนอีกด้วย นายเกษมศักดิ์ แสนโภชน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาความยากจนของพี่น้องเกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์นั้น จังหวัดได้ประกาศนโยบายสุรินทร์เมืองเกษตรอินทรีย์ ปลอดสารเคมีและสารพิษ โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร และเพื่อให้ผู้ผลิตผู้บริโภคมีสุขภาพอนามัยที่ดี ในส่วนของการลดต้นทุนการผลิต จากการศึกษาเปรียบเทียบและทดลองปฏิบัติผลการทำนาเกษตรเคมีกับเกษตรอินทรีย์ พบว่าการทำนาเกษตรเคมีใช้ต้นทุนต่อไร่ 3,910.- บาท ได้ผลผลิต 320 กก./ไร่ ถ้าคิดราคาข้าวกิโลกรัมละ 7 บาท จะขายได้ 2,210 บาท ซึ่งจะขาดทุนไร่ละ 1,760.- บาท ส่วนการทำนาเกษตรอินทรีย์ เมื่อมีประการณ์แล้ว ในปีที่ 3 ใช้ต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่ 1,480.- บาท ได้ผลผลิต 640 กก./ไร่ ถ้าคิดราคาข้าวกิโลกรัมละ 7 บาท จะขายได้ 4,480.- บาท ซึ่งจะได้กำไรไร่ละ 3,000.- บาท ส่วนในเรื่องของสุขภาพอนามัยนั้น จากการสุ่มตรวจหาสารเคมีในเลือกจากกลุ่มตัวอย่าง ประชาชนในจังหวัดสุรินทร์ ในปีที่ผ่านมา จำนวน 5,350 ราย ปรากฏว่ามีผู้มีสารเคมีในเลือด อยู่ในเกณฑ์ไม่ปลอดภัย 723 ราย หรือ ร้อยละ 13.31 ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวด้วยว่า จังหวัดสุรินทร์นั้นพื้นที่มีองค์ความรู้ในเรื่องเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากมีการเรียนรู้ทดลองของปราชญ์ชาวบ้าน และผู้นำภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งนับเป็นต้นทุนด้านภูมิปัญญาที่สำคัญเพื่อยกระดับรายได้ของประชาชนในจังหวัดให้พออยู่พอกิน ตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ และโครงการเมืองสุขภาพปลอดสารพิษ เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจังหวัดสุรินทร์เป็น 1 ใน 9 จังหวัดนำร่องของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย ****************
สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ตรวจเยี่ยมโครงการทับทิมสยาม 04 สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เดินทางมาตรวจเยี่ยมพื้นที่โครงการทับทิมสยาม 04 เพื่อรับทราบความก้าวหน้าโครงการต่าง ๆ ของหมู่บ้านทับทิมสยาม 04 อำเภอสังขะ ก่อนที่จะมีการส่งมอบให้จังหวัดดูแลในปี 2545 วันที่ 17 พฤษภาคม 2544 เวลา 14.00 น. นายดำรง รัตนพานิช รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ และคณะเดินทางมาตรวจเยี่ยมพื้นที่โครงการทับทิมสยาม 04 จังหวัดสุรินทร์ ณ อาคารเอนกประสงค์ โครงการทับทิมสยาม 04 อำเภอสังขะ โดยมีนายเกษมศักดิ์ แสนโภชน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ให้การต้อนรับคณะฯ และได้บรรยายถึงความก้าวหน้าโครงการต่าง ๆ ของหมู่บ้านทับทิมสยาม 04 อำเภอสังขะ สำหรับโครงการทับทิมสยาม 04 จังหวัดสุรินทร์ ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริของ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ที่ทรงนำหน่วยแพทย์ไปให้การรักษาราษฎร ที่บริเวณศูนย์ควบคุมผู้อพยพชาวกัมพูชา ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2536 ทรงตระหนักถึงความทุกข์ยากของราษฎรไทยบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ที่ได้รับผลกระทบจากภัยสงคราม ทรงมีพระราชดำริฟื้นฟูพื้นที่ศูนย์อพยพดังกล่าวด้วยการพัฒนาสภาพแวดล้อม และสภาพชีวิตของประชาชนชายแดน เพื่อเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาที่จะขยายไปสู่พื้นที่ใกล้เคียงในลักษณะยุทธศาสตร์การพัฒนา จึงได้จัดตั้งโครงการทับทิมสยาม 04 ขึ้น โดยมีลักษณะเป็นการพัฒนาพื้นที่ให้พร้อมไปด้วยสาธารณูปโภคต่าง ๆ มีการจัดสร้างบ้านพักอาศัยและแบ่งที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรที่มีฐานะยากจนไม่มีที่ทำกิน และมีความขยันขันแข็งที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการจำนวน 100 ครอบครัว โดยแบ่งการดำเนินงานระยะแรก (พ.ศ.2536-2539) สำรวจพื้นที่วางผังโครงการ คัดเลือกราษฎร ระยะสอง (พ.ศ.2540-2544) เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตส่งเสริมให้ราษฎรมีรายได้ เสริมสร้างความเป็นอยู่ของชุมชน นอกจากนี้รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และคณะได้มอบอุปกรณ์กีฬาแก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนทับทิมสยาม และโครงการทับทิมสยาม 04 จังหวัดสุรินทร์ ทางสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ จะทำการส่งมอบโครงการดังกล่าวให้แก่จังหวัดสุรินทร์ เป็นผู้ดูแลงานต่อไปในปี 2545 ************